บทที่ 2
การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องประมวลผลอิเล็กทรอนิกส์ ที่เกิดจากการประกอบกันของอุปกรณ์ต่างๆทั้งส่วนภายในเครื่องและส่วนที่อยู่ภายนอกเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPURAM การ์ดแสดงผล ฮาร์ดดิกส์ เมาส์ จอภาพ คีย์บอร์ด และอื่นๆ ซึ่งในแต่ละส่วนมีหน้าที่และความสำคัญแตกต่างกันไป และการเลือกชื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพ่อประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ใช้เองนั้นก็จะทำให้ผู้ใช้ได้อุปกรณ์ที่ตรงกับความต้องการใช้งาน แต่ผู้ใช้เองจะต้องมีความรู้และความเข้าใจในการที่จะประกอบชิ้นส่วนที่ชื้อมา เพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมชุดเครื่องมือให้พร้อม
1. ไขควง 4 แฉก เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด โดยใช้ในการยึดน็อตให้ฮาร์ดแวร์ต่างๆเช่น เมนบอร์ด การ์ดจอ การ์ดเสียง การ์ด LAN/Wifi ฮาร์ดดิสก์ ดีวีดีไดรฟ์ เป็นต้น ยึดติดอยู่กับเคสครับ (เนื่องจากผู้ผลิตเคสเกือบทั้งหมดจะใช้ตัวน็อตที่มีหัวเป็น 4 แฉก โดยน็อตนั้นจะแถมมาให้กับเคสคอมพิวเตอร์ครับ)
2. เข็มขัดรัดสาย ใช้ในการเก็บสายไฟ สายส่งข้อมูล ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่ภายในเคส ข้อนี้หากไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ครับ แต่สายไฟอาจจะดูรกบ้างภายในเคส และอาจจะทำให้เกิดความสับสนเมื่อต้องถอดอุปกรณ์แต่ละชิ้นออกมาหากมีปัญหาในอนาคตครับ
มีเพียงเท่านี้ครับ หลายคนอาจจะสงสัยว่า อุปกรณ์เพียงแค่ 2 ชิ้นจะเพียงพอสำหรับการประกอบคอมพิวเตอร์ได้จริงหรือ ลองไปชมกันต่อเลยครับ
วันนี้เครื่องที่แอดมินจะนำมาสาธิตการประกอบให้ดูนั้นเป็นแพลตฟอร์มใหม่ของทาง AMD ที่มี Codename ชื่อว่า Kabini โดยเป็น APU ที่เน้นไปในกลุ่มลูกค้าตลาดล่าง และได้มีการนำ Chipset ซึ่งในแพลตฟอร์มเก่าๆ อยู่บนเมนบอร์ดย้ายไปอยู่บนตัว CPU ทั้งหมด ส่งผลให้เมนบอร์ดนั้นมีขนาดที่เล็กลง โดยในแพลตฟอร์มนี้ถือได้ว่ามีความแรงพอเพียงสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป เช่น ดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงความละเอียดสูง เล่นเกมออนไลน์ ทำงานเอกสาร หรืองานตัดต่อเบาๆ ได้สบายๆ ครับ โดยข้อสังเกตของแพลตฟอร์มนี้ คือตัว CPU แม้จะมีการนำ Chipset ย้ายเข้าไปอยู่ในตัว CPU แล้ว แต่ก็ยังมีขนาดที่เล็กกว่า CPU ทั่วๆ ไปที่ Chipset ยังอยู่บนเมนบอร์ดอีกครับ โดยสามารถเทียบขนาดได้ตามรูปด้านล่างครับ
Spec คร่าวๆ ของฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่จะนำมาสาธิตการประกอบ มีดังนี้ครับ
CPU: AMD Athlon 5350 Quad Core Processor
Mainboard: MSI AM1I Mini-ITX
RAM: 4GB 1600 MHz Kingston Hyper-X Genesis
VGA: On Chip (Radeon R3)
HDD: Western 1TB Blue (64 MB Cache)
ODD: DVD Drive Lite On 22X
Case: Tsunami TATTOO Colour C1 (Black-Red) Mid-Tower ATX (จริงๆ แล้วสามารถใช้เคสขนาด Micro-ATX หรือ Mini-ITX ในการประกอบได้นะครับ)
PSU: Tsunami ติดเคส 580W
สนนราคาทั้งชุดนี้เพียง 8060 บาทเท่านั้น นับว่าประหยัดคุ้มค่ามากครับ
มาชมภาพกันทีละชิ้นเลยครับ ว่ามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร
CPU: AMD Athlon 5350 Quad Core Processor with Radeon R3 Graphics
Mainboard: MSI AM1I
RAM: 4GB 1600 MHz Kingston Hyper-X Genesis
HDD: 1TB Western Blue (64 MB Cache)
ODD: DVD Drive Lite On 22X
Case: Tsunami TATTOO Colour C1 with 580W PSU
คราวนี้มารับชมวิธีการประกอบกันเลยครับ
1. นำ Power Supply ประกอบเข้าไปในช่องของเคส ขันน็อตยึดให้ครบทุกจุดเป็นอันดับแรกครับ โดยตำแหน่งที่วางจะขึ้นอยู่กับเคสแต่ละชนิดและยี่ห้อครับ หากเป็นเคสที่มี Power Supply ติดมาให้อยู่แล้วก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลยครับ
ตำแหน่งที่วาง PSU ในเคสแต่ละรุ่นอาจแตกต่างกัน
ขันน็อต Power Supply ให้ยึดติดกับเคสให้ครบทุกรู
2. นำ ODD ประกอบเข้าไปในช่องของเคส โดยหากมีหน้ากากครอบอยู่ให้ถอดหน้ากากโดยนำมือดันออกจากทางด้านในของเคสให้หลุดออกมา จากนั้นนำ ODD ใส่เข้าไปจากด้านหน้าเคส แล้วดันให้เข้าไปจนสุด ขันน็อตยึดให้ครบทุกรู (ทั้ง 2 ด้านซ้าย-ขวา) แล้วนำหน้ากากมาปิดเหมือนเดิมครับ
นำหน้ากากออกมาโดยเอามือดันให้หลุดออกมาจากภายในเคส
ใส่ ODD เข้าไปจากด้านหน้าและนำหน้ากากมาปิดอีกทีนะครับ
3. นำ HDD ประกอบเข้าไปในช่องที่เคสได้จัดไว้ให้ แล้วขันน็อตยึดให้แน่น คล้ายกับการประกอบ ODD เข้ากับเคสครับ
ช่องสำหรับใส่ HDD ในเคส
หงายด้านที่มี Label ขึ้น แล้วใส่เข้าไปในช่อง
ขันน็อตให้เรียบร้อยทั้ง 2 ด้าน
4. นำหน้ากากด้านหลังตัวที่แถมมากับเมนบอร์ด โดยทำการหักเขี้ยวต่างๆ ที่ขวางช่อง Port ต่างๆ ออก แล้วนำหน้ากากมาวางใส่ในช่องของเคสที่กำหนดไว้ให้ โดยให้ดันเข้าไปจากด้านในนะครับ
หักเขี้ยวเหล่านี้ออก หรือจะดันไปด้านหลังก็ได้
นำมาใส่ในช่องนี้ โดยให้ดันออกมาจากภายในเคส
ก่อนเราจะนำอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบเข้ากับเมนบอร์ด เรามาทำความรู้จักส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญของเมนบอร์ดกันครับ
ตัวอย่างข้างต้นเป็นของ MSI AM1I เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีตำแหน่งที่วางต่างกันไป แต่ลักษณะของ Port หรือ Socket ต่างๆ จะคล้ายคลึงกัน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คู่มือของเมนบอร์ดครับ
5. นำ CPU ใส่เข้าไปในเมนบอร์ด โดยแกะขายึด Socket ออกมา แล้ววางขา 1 (ขาที่จะมีสัญลักษณ์สามเหลี่ยมที่หัวมุม) ให้ตรงกับขา 1 ของ Socket จากนั้นนำขายึด Socket ปิดลงไปตามเดิม (ข้อนี้จะแตกต่างไปตาม CPU แต่ละรุ่น สามารถดูคู่มือของ CPU หรือ Mainboard ประกอบได้ครับ)
ขายึด Socket และขา 1 ของ Socket
ขา 1 ของ CPU จะเห็นเป็นสามเหลี่ยมสีทองที่มุมล่างซ้าย
วาง CPU ให้ขา 1 ตรงกันแล้วปิด ขายึด Socket ตามเดิม
6. ประกอบ Sink ระบายความร้อนที่แถมมาในกล่องซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด โดยให้หน้าสัมผัสของ Sink สัมผัสกับกระดองของซีพียูโดยตรง (สังเกตว่าจะมีซิลิโคนสีเทาๆ ติดมากับหน้าสัมผัสของ Sink อยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้การนำความร้อนจากซีพียูไปยัง Sink ทำได้ดียิ่งขึ้นครับ ในส่วนของการประกอบ Sink นั้น จะแตกต่างกันไปตามแต่ละ Socket ของแพลตฟอร์มนั้น สามารถดูวิธีการติดตั้งได้จากคู่มือ CPU และ Mainboard ประกอบได้ครับ)
Sink ระบายความร้อน สังเกตว่าจะมีซิลิโคนสีเทาๆ ติดมาให้บริเวณหน้าสัมผัสครับ
วาง Sink ระบายความร้อนประกบลงไปบนกระดอง CPU โดยให้รูที่จะยึดน็อตตรงกับรูบนเมนบอร์ด
นำน็อตมายึดให้ Sink ติดแน่นอยู่กับเมนบอร์ด และอย่าลืมเสียบสายไฟเลี้ยงพัดลมระบายความร้อนเข้ากับเมนบอร์ดด้วยนะครับ โดยสามารถศึกษาวิธีเพิ่มเติมได้จากคู่มือ CPU และ Mainboard ครับ
7. นำ RAM ใส่ลงไปใน Slot แรมบนเมนบอร์ด โดยดันขายึด Slot ออก แล้วดูเขี้ยวบริเวณ Slot ของแรม ให้ตรงกับขาของแรม ใส่ RAM ลงไปตรงๆ ตั้งฉากกับ Slot และดันเข้าไปจนขายึด Slot กลับเข้าที่เดิม (ส่วนใหญ่จะมีขายึด Slot ทั้ง 2 ข้างนะครับ แต่เมนบอร์ดนี้มีเพียงข้างเดียวเนื่องจากเป็นขนาด mini-itx ครับ)
ตามรูปครับ
8. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วก็มาถึงขั้นตอนนำ Mainboard ประกอบลงไปบนเคสครับ โดยวางให้ตรงตำแหน่งของหน้ากากพอร์ตต่างๆ หลังเคส และรูยึดน็อตระหว่างเมนบอร์ดกับเคสให้ตรงกัน จากนั้นทำการขันน็อตให้ครบทุกรูครับ
นำเมนบอร์ดประกอบเข้ากับเคส และขันน็อตให้ครบทุกรูครับ
9. หากมีการ์ดอื่นๆ ที่ต้องการเสียบเพิ่ม เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียง การ์ด LAN/WIFI ให้นำมาเสียบลงไปบนช่อง PCI Express (มีทั้งแบบยาวและสั้น) หรือ PCI แล้วขันน็อตยึดกับเคสให้ดีครับ (เนื่องจากเมนบอร์ดนี้มีขนาดเล็กจึงไม่มีช่อง PCI และ PCI Express แบบสั้น (x1) นะครับ)
ตัวอย่าง Slot แบบต่างๆ ทั้ง PCI-Express และ PCI แบบเก่าครับ
10. นำสายไฟ 24 pin ของ Power Supply มาเสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ด โดยต้องให้เขี้ยวอยู่ถูกด้านนะครับ มิเช่นนั้นจะไม่สามารถเสียบให้ลงล็อคได้ครับ
สาย 24 pin จาก Power Supply
เสียบลงไปบนช่องของเมนบอร์ด โดยหากเสียบถูกด้านแล้วจะไม่ต้องออกแรงฝืนมากในการเสียบครับ
11. นำสายไฟ 4 pin จาก Power Supply มาเสียบลงไปในลักษณะเดียวกับขั้นตอนที่ 9
สาย 4 pin จาก Power Supply
12. นำสายไฟเลี้ยง HDD และ ODD รวมถึงสายส่งข้อมูล SATA มาประกอบเข้าด้วยกันครับ
ช่องเชื่อมต่อไฟเลี้ยง กับส่งข้อมูล โดยจะมีลักษณะเหมือนกันทั้ง HDD และ ODD ครับ
สายส่งข้อมูลแบบ SATA โดยมักจะแถมมากับ Mainboard ให้ 2 เส้นครับ
สายไฟเลี้ยงอุปกรณ์ HDD และ ODD ครับ
นำสายไฟและสายส่งข้อมูลมาต่อเข้ากับ HDD และ ODD ให้เรียบร้อย
อย่าลืมนำสายส่งข้อมูลต่อเข้ากับ SATA Port บนเมนบอร์ดด้วยนะครับ
13. นำสายต่ออุปกรณ์ต่างๆ หน้าเคส ได้แก่ USB ไฟแสดงสถานะต่างๆ ปุ่มกดสวิตช์บนเคส รวมถึงช่องต่อลำโพง (หูฟัง) และไมค์หน้าเคสมาต่อให้ตรงตำแหน่งบนเมนบอร์ดด้วยครับ (สำหรับขั้นตอนนี้ต้องเปิดคู่มือเมนบอร์ดดูนะครับว่าตำแหน่งไหนเป็นจุดเชื่อมต่อของอุปกรณ์ใด โดยสายแต่ละเส้นจะมีตำแหน่งรูเสียบที่ไม่เหมือนกันนะครับ)
สาย USB หน้าเคส
สายลำโพงและไมค์หน้าเคส
สายไฟแสดงสถานะและสวิตช์ต่างๆ หน้าเคส
นำมาเสียบให้ถูกตำแหน่งโดยดูจากคู่มือเมนบอร์ดเป็นหลักครับ
ตัวอย่างคู่มือเมนบอร์ด
14. หากในเคสมีพัดลม ก็ให้นำสายต่อ Molex จาก Power Supply มาประกอบเข้ากับหัวต่อของพัดลมครับ
หัวต่อไฟเลี้ยงพัดลมจะอยู่ด้านขวา แต่ในบางครั้งพัดลมอาจให้หัวต่อไฟ (ด้านซ้าย) มาให้ด้วยครับ ซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนปลั๊กพ่วงให้อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ไฟจากหัว Molex เหมือนกันสามารถใช้งานได้ โดยเฉพาะเมื่อสายต่อไฟแบบ Molex จาก Power Supply ถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่นจนหมด แต่ไม่แนะนำให้ทำนะครับเนื่องจากอาจทำให้ไฟที่จ่ายตัวพัดลมไม่เพียงพอครับ
จัดการต่อสายไฟให้เรียบร้อย
เสร็จเรียบร้อยแล้วกับการประกอบคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ในส่วนรายละเอียดที่เหลือคือการเก็บสายไฟในเคสให้สวยงาม อันนี้คงเป็นความสามารถเฉพาะตัว และขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลด้วยครับ แต่แอดมินขอแนะนำให้นำสายไฟที่เหลือที่ไม่ได้ใช้งานไว้ด้านหลังเคสทั้งหมด แล้วใช้เข็มขัดมัดสายรัดรวมกันเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยนะครับ
มัดสายไฟให้เป็นระเบียบด้วยเข็มขัดรัดสาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น